top of page

โครงสร้างประโยคพื้นฐาน

ประกอบไปด้วย 3 ส่วนพื้นฐาน อันได้แก่ ประธาน(Subject),กริยา(Verb),กรรม(Object) แต่ในเกาหลี โครงสร้างประโยค คือ ประธาน(Subject),กรรม(Object),กริยา(Verb) ดังนี้

S + O + V 저는 밥을 먹습니다. (กระผม/ดิฉัน) (ข้าว) (กินครับ/ค่ะ)

Subject มีองค์ประกอบคือ 1.คำที่มาเป็นประธาน หรือผู้กระทำ(ตามตัวอย่างคือ 저) 2.คำช่วยชี้ประธาน(ตามตัวอย่างคือ -는) Object มีองค์ประกอบคือ 1.คำที่มาเป็นกรรม หรือผู้ถูกกระทำ (ตามตัวอย่างคือ 밥) 2.คำช่วยชี้กรรม (ตามตัวอย่างคือ -을) Verb มีองค์ประกอบคือ 1.คำที่แสดงการกระทำของประธาน(ตามตัวอย่างคือ 먹) 2.ส่วนที่ทำหน้าที่และมีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า "ครับ/ค่ะ" ในภาษาไทย(-습니다)

การที่เราจะเลือกสรรคำกริยามาใช้เราต้องทราบด้วยว่า...คำกริยานั้นต้องการกรรมมารองรับหรือไม่* เช่น

  • 먹다 เป็นคำที่ต้องมีกรรมมารองรับ (แปลว่า อาการกิน)

  • 식사하다 เป็นคำที่ไม่ต้องมีกรรมมารองรับ (แปลว่า รับประทานอาหาร/ทานข้าว)

หากต้องการถามใครหรือมีใครสักคนมาถามเราว่า กินแล้ว? เราก็คงทำหน้าสงสัย...กินอะไร...ไม่เข้าใจ เช่นเดียวกันในภาษาเกาหลี เราคงจะไม่ถามว่า "먹었어요?" มีความหมายคือ "กินแล้ว?" กินอะไรก็ไม่รู้...ไม่เข้าใจ...เพราะไม่มีอะไรมารองรับอาการกิน แต่ถ้าเป็น " 밥을 먹었어요?" (OK! เป็นที่สามารถทำความเข้าใจกันได้)

แล้ว "식사했어요?" ก็(OK!) เพราะว่ามีความสมบูรณ์อยู่ในตัวเองแล้ว

กล่าวคือคำว่า "식사하다" เขียนได้อีกรูปหนึ่งคือ "식사(를) 하다" ......ซึ่งคำว่า 식사 = meal(มื้ออาหาร) เป็นผู้ถูกกระทำนั่นเอง

bottom of page